วันอาทิตย์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

กรุงเทพ ฯ เมื่อร้อยกว่าปี


 ย้อน กลับไปครั้งกรุงเทพฯยังเรียกกันว่าบางกอก เปิดเมืองค้าขายกับชาวต่างชาติ พวกยุโรปเข้ามามีบทบาทในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมของประเทศสยามเป็นอย่างมาก ภาพพจน์ของประเทศสยามในสายตาของชาวต่างชาติในยุคนั้น จะเป็นอย่างไร ลองไปดูภาพกัน

                ภาพ พระบรมมหาราชวัง บริเวณท่ามหาราช เป็นมุมมองที่เด่นที่สุดมาถึงปัจจุบัน แต่สมัยก่อนมีเรือแจว เรือพายเยอะหน่อย แต่ปัจจุบันสูญหายไปทั้งเรือ ทั้งแพ ไม่ใช่จากการใช้งานที่ไม่สะดวกหลอกครับ สาเหตุหนึ่งจากเรือหางยาวนี่แหละ เพราะเรือหางยาววิ่งเร็ว เกิดคลื่นกระทบแรง เรือไม่มีเครื่องก็จะโคลงมาก แพก็จะโดนคลื่นซัดเสียหาย จึงไม่นิยมใช้และสูญหายไปในที่สุด
 
                หนังสือพิมพ์ฝรั่งเศสชื่อ ลีลลูสตราซียง (
L' Illustration) ได้ นำเสนอเรื่องราวของประเทศสยามในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า อยู่หัว เป็นสารคดีประกอบภาพลายเส้น เล่าเรื่องราวสภาพความเป็นอยู่ วิถีชีวิต และวัฒนธรรมประเพณีไทย ในสมัยนั้น โดยบุคคลหรือนักหนังสือพิมพ์ในสมัยนั้นคือนายฟูร์เนอโร (Monsieur Fournereau) ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของวิทยาลัยศิลปะ L' Ecole des Beaux-Arts 


            ฟู ร์เนอโร ได้เข้ามาศึกษาสภาพสังคมและอารยะธรรมของสยามประเทศอยู่ด้วยกันหลายครั้ง และเขาก็ต้องตื่นตะลึงกับพระราชพิธีอันยิ่งใหญ่พิธีหนึ่ง นั่นคือ พระราชพิธีปลงพระศพของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ที่มีขึ้นในช่วงเวลาของวันที่ ๙ ถึง ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๐๑ โดยมีขบวนเกียรติยศ และประชาชนเข้าร่วมในพระราชพิธีนี้อย่างล้นหลาม และพระราชพิธีถวายพระเพลิงศพ ณ พระเมรุมาศ ก็จัดได้สมพระเกียรติมาก
 




        สภาพเรือนแพริมน้ำทั่วไป

        ใน ปีพ.ศ.๑๔๓๔ ฟูร์เนอโร ได้เดินทางเข้ามากระเทศสยามอีกครั้ง เพื่อที่จะศึกษาเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมไทย เขาได้เก็บข้อมูลอย่างละเอียด โดยวาดภาพและถ่ายภาพคนไทย และศิลปวัตถุในพิพิธภัณฑ์ เป็นต้น เขาสนใจกับพระปรางค์วัดแจ้งเป็นอย่างมาก ด้วยความสูงตระหง่านงดงาม และมีชื่อเสียงเลื่องลือไปในแดนไกล (สมัยนั้น สิ่งก่อสร้างที่สูงขนาดนี้ก็จัดได้ว่าเป็นตึกระฟ้า ได้ทีเดียว) นอกจากนี้เขายังศึกษาเรื่องศาสนาและราชอาณาจักรสยามโบราณเป็นพิเศษ
 
 




เรือเดินทะเลของฝรั่งเศสชื่อ ลูแตง จอดอยู่หน้าสถานกงสุลฝรั่งเศส ที่ติดกับโรงแรมโอเรียนเตลในปัจจุบัน
 
            ใน ปีพ.ศ.๒๔๓๖ หนังสือพิมพ์ ลีลลูสตราซียง ได้ตีพิมพ์เรื่องราวของประเทศสยามว่า มีบางกอกเป็นเมืองหลวง เป็นที่ตั้งของพระราชวังของพระมหากษัตริย์ไทย เป็นศูนย์กลางทางการเมือง การค้า และศาสนา บางกอกมีประชากรประมาณ 
500,000 คน เป็นเมืองที่สกปรก มีขยะและกลิ่นเหม็น ซึ่งจะพบได้ทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นพื้นดินหรือแม่น้ำลำคลอง (นี่ แสดงว่านิสัยมักง่ายของคนไทยนั้นมีมานานแล้วนะ อายเขาไหมล่ะ ) สำหรับทัศนียภาพที่พบเห็นได้ทั่วไปตามแม่น้ำลำคลอง ก็มียวดยานพาหนะทางน้ำเช่น เรือกำปั่น เรือพายเป็นต้น และเรือนแพสำหรับค้าขายและพักอาศัยก็มีอยู่เป็นจำนวนมาก ส่วนบริเวณถนนเจริญกรุง ช่วงบางคอแหลม ซึ่งอยู่ทางทิศใต้ของบางกอก ก็มีบ้านเรือนขนาดเล็กเรียงรายอยู่ทั่วไป 

        ขบวนแห่พระศพของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ในพิธีปลงพระศพ มีขบวนเกียรติยศและประชาชนเข้าร่วมพิธีอย่างล้นหลาม
 
       ฟู ร์เนอโร ยังได้รายงานอีกว่า สยามเป็นเมืองแห่งพระพุทธศาสนา แต่คนไทยก็มีเสรีภาพที่จะนับถือศาสนาอื่นๆได้เช่นกัน นอกจากนี้เขายังได้ไปชมวัดโพธิ์ วัดสุทัศน์ และวัดสระเกศอีกด้วย จึงได้ภาพของการเผาศพที่เกิดจากโรคระบาด ไปนำเสนอ
 

พระเมรุมาศที่ตั้งพระศพพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ
 
        นอก จากในบางกอกแล้ว ฟูร์เนอโร ยังได้แสดงความเห็นว่า ต่างจังหวัดก็ยังมีสถานที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ และสิ่งที่น่าสนใจอยู่ไม่น้อย กรุงเทพฯผ่านกาลเวลามา 
100 กว่า ปีก็ย่อมมีสภาพที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นธรรมดาของการพัฒนา แต่สิ่งหนึ่งที่ไม่ได้เปลี่ยนไปและไม่ควรเปลี่ยนไป คือสามัญสำนึกของคนไทย ที่ยังยึดมั่นในความเป็นไทย และซึมซับความเป็นไทยไว้ในสายเลือด เฉกเช่นบรรพบุรุษไทยที่ได้ดำรงมาเนิ่นนาน 

การทำพิธีเผาศพ ตอนนั้นอีแร้งก็ยังไม่สูญพันธ์ไปจากเมืองไทย ยืนคอยรับประทานอาหารโปรดอยู่เป็นแถว 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ปฏิทินอันใหม่