วันอาทิตย์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เช้าฮาเย็นเฮ


บทที่ 3 เช้าฮาเย็นฮา


       บทที่ 3
        เรื่อง    เช้าฮาเย็นเฮ

พ่อรักเราและรักแม่เราจึงไม่กินเหล้า
พ่อบอกว่าพ่ออยากอยู่กับเรานานๆ
คนที่เล่นดนตรี  คนที่เล่นกีฬาจะแข็งแรงและอายุยืน
คนกินเหล้าอายุสั้น  พ่อเราอยากมีอายุยืน
และพ่อบอกว่าอยากเสียเงินซื้อเหล้า
พ่อจะเก็บเงินไว้ให้เราเรียนสูง ๆ"


เช้าฮาเย็นเฮ

สุพจน์กับศรัณย์  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนประจำจังหวัด  เดินออกจากโรงเรียนเพื่อจะกลับบ้านซึ่งอยู่ทางเดียวกันสุพจน์นึกถึงว่า...จะต้องไปพบพ่อที่พาเพื่อนมานั่งกินเหล้าอยู่หน้าบ้านคุยกันเฮฮาแล้วเรียกหากับแกล้ม  พอดึกเข้าก็จะเมา  เสียงเฮฮาก็จะกลายเป็นอ้อแอ้      เพื่อน ๆ  พ่อบางคนก็กลับบ้าน    บางคนก็ไม่กลับเพราะกลับไม่ไหว     พอพ่อเข้ามาในบ้านก็จะเริ่มบ่นแล้วด่าว่าแม่    ว่าทำไม่ไม่ดูแลบ้าน  วางข้าวของเกะกะ  ทิ้ง ๆ  ที่ในบ้านแทบจะไม่มีข้าวของอะไรอยู่แล้ว  แล้วก็ว่าะไรไปเรื่อย ๆ ซํ้า ๆ กันทุกวัน

สุพจน์    : เราไม่เข้าใจเลย ไอ้เหล้านี่มันมีอะไรดี พ่อต้องกินทุกวัน พอตกเย็นก็กินเหล้า กินแล้        
                 เวก็เมา เฮไปเฮมา   แล้วก็ต้องมาทะเลาะกับแม่

ศรัณย์    :   มันก็มีฤทธิ์ซิ  เรายังอยากลองกินเลย   เขาว่ากินเหล้าแล้วเก่ง   
                   ไม่มีใครกล้าสู้
สุพจน์    :   เราว่า   เขาไม่สู้เพราะเหม็นเหล้ามากกว่า   คนเมาเหล้าดูทุเรศ 
                   น่าเกลียดจะตาย
ศรัณย์    :    เราถ้ากินนิดหน่อย    ไม่เมามาก  ก็เท่ดีนะ
สุพจน์    :   เราไม่เห็นเท่สักนิด   เหล้าต้องไม่ดีแน่ๆ  ผู้ใหญ่ถึงห้ามเราไม่ให้กิน
ศรัณย์    :   ถ้าไม่ดี   ทำไมเขาถึงกินกันทั้งบ้านทั้งเมืองล่ะ  เหล้าแพงด้วยนะ
สุพจน์    :   นายว่าเหล้าดี แต่พ่อนายก็ไม่กินเหล้า พ่อเรากิน เราก็เห็นอยู่ว่าไม่ดี เรามา                                                                                               เรามาหาข้อมูลแข่งกัน  ไหม   ที่ว่าดีกับไม่ดีอะไรจะมากกว่ากัน
ศรัณย์    :    หาที่ไหนดีล่ะ   จากหนังสือหรือทางเหน็ตดี
สุพจน์   :    ทางไหนก็ได้   เออ   นายไปถามพ่อนายก็ได้   พ่อนายไม่กินเหล้า  อาจจะบอกได้ว่าทำไมไม่กิน  พ่อเราน่ะไม่ต้องถามหรอก  รู้คำตอบอยู่แล้ว  เขาต้องว่า  เหล้าดีมาก  มันซื้อสัตย์กินทีไรเมาทุกที   เขายังกินทุกวันเลย
ศรัณย์    :   เออ   พอดีครูให้ทำรายงาน   สิ่งที่เป็นภัยสังคม  เราเอาเรื่องนี้   ทำเป็นรายงานส่งครูเลย   นายหาจากหนังสือนะ   เราจะดูทางเหน็ต  แล้วเรามาดูกัน
สุพจน์    :  เออ   ตกลง  แล้วเจอกันนะ
ศรัณย์    :   หวัดดี

อีก  ๒  วันต่อมา  ศรัณย์กับสุพจน์  นำข้อมูลที่หาได้

มาพิจารณาด้วยกัน

              ศรัณย์ค้นข้อมูลจาก  สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน  โดยพระราชาประสงค์ในพระบาทเด็จพระเจ้าอยู่หัว  เล่ม ๒๗ หน้า ๑๗๓ ได้ความรู้ว่า

              เหล้าเป็นเครื่องดื่มที่มีสารแอลกอฮอล์     แอลกอฮอล์เป็นสารธรรมชาติที่ได้เจากหมักนํ้าตาล  
( เช่น นํ้าตาล จากข้าวต่างๆ จากข้าวโพดหรือจากผลไม้  เช่น องุ่น ) กับ ยีสต์  เกิดเป็นสารซึ่งมีชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์ว่า  เอทานอล ( ethanol ) สารนี้เป็นของเหลวที่ระเหยง่าาย  มีกลิ่นและรสแรงบาดคอ 
เมื่อจะทำเป็นเครื่องดื่มจึงผสมกับสิ่งอื่นทำให้เอทานอลเจือจางลง   ส่วนผสมที่มีนํ้า  ๑๐๐ ส่วน   มี  แอลกอฮอล์ ๒๘ ส่วน  เรียกว่า  มีแอลกอฮอล์ ๒๘ ดีกรี ถ้าส่วนผสมมีนํ้า ๑๐๐ ส่วน  มีแอลกอฮอล์ ๓๕ส่วน  เรียกว่า   มีแอลกอฮอล์  ๓๕ ดีกรี  เหล้าที่ผลิตและนิยมดื่มกันในประเทศไทยมักจะเป็นเหล้านี้ที่มีแอลกอฮอล์   ประมาณ ๓๕ ดีกรี 
สุพจน์    :   เราได้ข้อมูลจากเหน็ตมาเพียบเลย   นี่ไง
ศรัณย์    :   นายโหลดมาเหรอ
สุพจน์   :    เปล่า  เราไม่ได้โหลดมาหรอก   พี่เราบอกว่า  เราไม่ควรลอกข้อความจากเหน็ต   ควรอ่านแล้ว        
                   สรุปมาแต่ใจความที่น่าสนใจ  ถ้าจะลอก  ก็ต้องบอกชื่อเจ้าของให้ชัดเจน
                   เราจะอ่านที่เราเขียนมาให้ฟังนะ

                  เมื่อเราดื่มสุรา   เอทิลแอลกอฮอล์ที่กินจะเข้าไปสู้เส้นเลือดซึ่งจะกระจายไปสู่ทุกส่วนของร่างกายและทฎให้เกิดผลต่อสมองถ้ามีแอลกอฮอล์ในเลือด  ๒๐ มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์   จะทำให้รู้สึกคึกคักร่าเริง  คนกินเหล้าแรกๆ ก็จะเฮฮาสนุกสนานถ้ามีแอลกอฮอล์ในเลือด ๕๐  มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์  จะควบคุมการเคลื่อนไหวไม่ได้คล่อง   ทำอะไรช้าลง  ถ้ามีแอลกอฮอล์ในเลือด ๑๐๐ มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์จะทำให้เดินไม่ตรงทาง  ถ้ามีแอลกอฮอล์ในเลือด ๒๐๐ มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์จะเกิดอาการสับสน  จึงมักจะมีเรื่องวิวาทกัน    ถ้ามีแอลกอฮอล์ในเลือด ๔๐๐ มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ จะเกิดอาการสลบและอาจถึงตายได้

ศรัณย์    :   เรารู้ว่า   คนที่กินเหล้ามีแอลกอฮอล์เกิน  ๕๐  มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์   ถ้าขับรถจะถูถตำรวจจับ 
                  ต้องโดนปรับและอาจถูถติดคุกด้วยนะ 
สุพจน์   :   ใช่   เพราะตอนนั้นประสาทจะสั่งการช้าลง   จึงไม่ควรขับรถแล้วนายรู้ไม่ว่าพิษ  
                  ของแอลกอฮอล์ต่อร่างกายมีอะไรบ้าง
ศรัณย์   :   รู้ซิ  แยะเลย   ร้ายๆ  ทั้งนั้น
สุพจน์  :   ใช้   เราหามาจากเหน็ตด้วย   เราสรุปมาได้อย่างนี้
                 
                 เมื่อดื่มสุราตอนแรก   สุราจะกระตุ้นจิตใจให้ชุ่มชื่น   ลืมทุกข์ลืมความไม่สบายใจชั่วคราว      แต่ถ้าดื่มต่อไปก็จะติดเพราะสุราเป็นสารเสพติด   กินแล้วก็จะกินบ่อยๆ   กินเป็นประจำแล้วจะเกิดโรค    เรีกว่า   โรคพิษสุราเรื้อรัง  ทำให้เกิดโรคตับแข็ง   กล้ามเนื้อหัวใจฝ่อ   ความดันโลหิตสูง   ประสาทตาเสีย      
และโรคอื่น ๆ  อีกหลายโรค
ศรัณย์   :    แม่บอกเราว่า

                  โทษของสุราเมรัยนั้น    รู้กันมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาลแล้วจึงได้มีศีลข้อ  ๕  ห้ามดื่มสุราเมรัย   เพราะเป็นสิ่งที่ทำให้คนขาดสติ    มึนเมา   ทำสิ่งที่ไม่หน้าทำและไม่ควรทำ     แต่ที่คนยังคงดื่มกันอยู่ก็เพราะคนเราออ่นแอ  ไม่เข้มแข็งพอที่จะขัดขืนกิเกสหรือความอยากในความชั่วได้  

สุพจน์    :    เราเคยได้ยินมาว่า   "คนกินเหล้าเพราะมีคนชวนให้กิน   คนชวนบอกว่า    ผู้ชายต้องกิน
                    เหล้า"  
ศรัณย์    :    แปลว่าอะไร   ผู้ชายต้องกินเหล้า   ก็เราเป็นผู้ชาย    ถ้าไม่กินเหล้าแล้วจะกลายเป็นผู้หญิง 
                   หรือเป็นตุ๊ดไปหรือ
สุพจน์    :   นั่นซิ   เป็นผู้ชายก็ไม่เห็นต้องกินเหล้า    ผู้หญิงกินเหล้าก็มีน่าเกลียดกว่าผู้ชายเสียอีก  แล้ว
                   ทำไมคนต้องกินเหล้า    
ศรัณย์    :    ก็เขาบอกว่ามันเป็นสิ่งเสพติดไง    คือ  คนกินเเล้วก็ติด    ต้องซื้อมากินเรื่อย ๆ    คนที่เขา
                   ทำขายเขาก็ได้สตางค์
สุพจน์   :    เราว่าไม่ควรส่งเสริมให้คนกินเหล้าและให้คนผลิตเหล้าเพราะเหล้าไม่ได้เป็นพิษเฉพาะกับคน
                   ที่กินเท่านั้น   คนอื่นที่ไม่ได้กิน     แต่ถ้าอยู่ใกล้ ๆ   ก็อาจพลอยถูกพิษของเหล้าด้วย   เรา
                   เกลียดเหล้าที่สุดเลย
ศรัณย์   :     เราก็ไม่ชอบเหมือนกัน
สุพจน์   :    เรามาสัญญากันไหม  ว่าโตขึ้นเราจะไม่กินเหล้า  ถึงจะมีคนชวน  ถึงจะมีคนท้า  เราก็จะไม่กิน
ศรัณย์   :    เอาซิ   แต่....ถ้าเราไม่กินเหล้า  เพื่อนเขาไม่คบกับเราล่ะ
สุพจน์  :   นายจะไปสนใจคนขี้เหล้าทำไมล่ะ
ศรัณย์   :   ไม่รู้ซิ   บางทีเราก็อยากมีเพื่อนแยะ ๆ แล้วเราเคยได้ยินคนเขาพูดว่า  เหล้าทำให้มีเพื่อน
สุพจน์   :   เพื่อนขี้เมาทั้งนั้นน่ะซี   พ่อนายไม่กินเหล้า   เขาก็มีเพื่อนไม่ใช่หรือ
ศรัณย์   :   ใช่  พ่อเรามีเพื่อนที่เล่นดนตรีด้วยกัน   พ่อบอกเราว่า   พ่อรักเราและรักแม่เราจึงไม่กินเหล้า    
                 พ่อบอกว่าอยากอยู่กับเรานาน ๆ   คนที่เล่นดนตรี   คนที่เล่นกีฬาจะแข็งแรงและอายุยืน    
                 คนกินเหล้าอายุสั้น   พ่อเราอยากมีอายุยืน   และพ่อบอกว่าไม่อยากเสียเงินซื้อเหล้า   พ่อจะเก็บ
                 เงินไว้ให้เราเรียนสูง ๆ 

                 สุพจน์กับศรัณย์ได้ทำรายงาน   เรื่อง   โทษของการดื่มสุรา    ส่งครูและได้รับคำชมว่าเป็นรายงานที่ดีเพราะมีข้อมูลหลากหลาย     ข้อมูลเชื่อถือได้     การเสนอข้อมูลและความคิดเห็นสมเหตุผล   มีเอกภาพและใช้ภาษาไทยถูกต้อง


 ข้อคิดจากเรื่อง

        เรื่องที่อ่านเป็นบทสนทนาของนักเรียนชาย ๒ คน   ที่มีความคิดก้าวหน้าสุพจน์มีพ่อที่ดื่มสุรา     พอเมามากแล้ว    ก็จะหาเรื่องทะเลาะกับแม่    เพราะแอลกอฮอล์มีฤทธิ์กดประสาท    ทำให้ขาดสติและเห็นผิดเป็นชอบ    สุพจน์จึงไม่ตระหนักถึงพิษภัยของสุรามานัก    แต่เมื่อได้เรียนรู้ว่ามีสุรามีพิษร้ายแรงต่อสุขภาพ    ก็เห็นด้วยกับสุพจน์ว่าไม่ควรดื่มสุรา 

        บทสนทนานี้มีลักษณะโน้มน้าวใจให้เห็นโทษของสุรา   โดยใช้เหตุผลของนักเรียนชาย ๒ คน  ที่ทั้งสนับสนุนและโต้แย้งกัน   เสริมด้วยข้อมูลที่ได้จากการศึกษาทั้งจากสารานุกรม    จากอินเตอร์เน็ต    จากการสอบถามบุคคล   และจากการสังเกตของตนเอง    นักเรียนทั้งสองประมวลความรู้    แล้วพิจารณาเลือกทางปฏิบัติสิ่งที่ดี   ที่เหมาะสม   มีประโยชน์ต่อตนเองและสังคม   สุดท้ายได้ตัดสินใจยืนหยัดทำสิ่งที่ตนเห็นว่าถูกต้อง

การจับประเด็นสำคัญ

       การฟังสนทนา    ฟังการอภิปราย   การอ่านหนังสือ  หรืออ่านบทความใด ๆ  ผู้ฟังผู้อ่านควรพยายามจับประเด็นสำคัญของเรื่องให้ได้ว่า     เนื้อหาของเรื่องนั้นกล่าวถึงอะไร    สาระสำคัญหรือประเด็นหลักคืออะไร    มีเรื่องอะไรเป็นประเด็นรองอะไรเป็นพลความหรือส่วนที่ขยายประเด็นหลักให้ชัดเจนยิ่งขึ้น   ถ้ามีผู้พูดหรือผู้แสดงความคิดเห็นหลานคน    ก็ต้องพยายามแยกความคิดเห็น    และพฤติกรรมของแต่ละคนให้ได้    เพื่อให้เข้าใจเรื่องได้ถูกต้อง    นอกจากเข้าใจเรื่องแล้ว   ควรพยายามพิจารณาจุดมุ่งหมายของผู้พูดผู้เขียนด้วย    จุดมุ่งหมายนั้น    บางครั้งก็เห็นได้ง่าย   แต่บางครั้งก็อาจซ่อนอยู่  ต้องวิเคราะห์ใหลึกจึงจะเห็น
  
       เนื้อหาสำคัญของเรื่องที่อ่านในบทนี้  คือ  การแสดงโทษของสุรา   ซึ่งปรากฏในการแสดงความคิดเห็นของศรัณย์และสุพจน์    รวมทั้งในข้อมูลความรู้ที่นักเรียนทั้งสองค้นคว้ามา     จุดมู่งหมายของเรื่อง   คือ  การโน้มน้าวใจให้งดดื่มสุราด้วยการแสดงโทษของสุราที่มีต่อผู้ดื่ม    ทั้งโทษต่อสุขภาพ    โทษต่อบุคลิกภาพ    โทษต่อศีลธรรมและคุณธรรม    ก่อให้เกิดปัญหาเศรษฐกิจและทำให้ครอบครัวไม่สงบสุขตลอดจนอาจทำให้เกิดผลร้ายต่อผู้อื่นโดยไม่ได้ตั้ใจ   เช่น   คนที่เมาแล้วขับรถอาจเกิดอุบัติเหตุและทำให้ผู้อื่นบาดเจ็บหรือเสียชีวิต

การศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง

      ปัจจุบันการศึกษาหาความรู้ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะในห้องเรียน    มีแหล่งความรู้ที่นักเรียนจะค้นคว้าได้เองอยู่รอบตัว    ถ้าสงสัยหรือมีปัญหาในเรื่องใด ๆ   ไม่ว่าเรื่องนั้นจะเป็นความรู้ในวิชาการที่ศึกษา  ความรู้รอบตัว   ความรู้เกี่ยวกับการดำเนินชีวิต   ปัญหาเกี่ยวกับเศรษฐกิจ    ปัญหาสังคม    ปัญหาทางอารมณ์   ฯ ลฯ  ในห้องสมุดมีหนังสือมากมายให้ค้นคว้าหาคำตอบ    มีแหล่งเรียนรู้ทางอินเตอร์เน็ตมีครูอาจารย์และผู้มีความรู้มีประสบการณ์ในเรื่องนั้น ๆ   ที่สามารถไต่ถามเพื่อให้ได้ความรู้และข้อคิดที่มีประโยชน์

       การหาความรู้จำเป็นต้องมีการกลั่นกรอง    หาแหล่งความรู้ที่น่าเชื่อถือ   มีสถาบันรับรอง  ต้อง
พิจาณาความถูกต้องและความสมเหตุผลของความรู้ที่ได้รับก่อนที่จะเชื่อถือ   ควรยึดหลักของกาลามสูตรที่มีให้เชื่อสิ่งใดก่อนที่จะได้พิจารณาไตร่ตรองให้รู้ผลอย่องถูกต้อง   เมื่อพิจารณาแล้วเห็นว่าถูกต้อง  เห็นว่าเหมาะสมจึงควรเชื่อและปฏิบัติตาม

การสร้างค่านิยมใหม่

      สุราเป็นเครื่องดื่มที่เชื่อกันมาช้านานว่าใช้ดื่มเพื่อเข้าสังคม   แต่ในปัจจุบันความรู้เรื่องพิษของสุราทำให้คนทั่วไปเห็นว่า    การดื่มสุราทำให้เสียสุขภาพ   เสียบุคลิกภาพ   ทำให้เสียทรัพย์โดยไม่จำเป็น   และอาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ง่ายคนจำนวนมากจึงงดดื่มสุรา    เพราะมีบทพิสุจน์แล้วว่าแม้ไม่ดื่มสุรา     
ก็ยังสามารถเข้าสังคมได้ดี   คนรุ่นใหม่หลายคนจึงมีความคิดใหม่   คือหลีกเลี่ยงการดื่มสุรา   และสร้างค่านิยมใหม่  ไม่ต้องการทำตามค่านิยมที่ผิด ๆ  และค่านิยมที่ขัดกับศีลธรรมที่ดีงาม    จะสังเกตเห็นว่าคนรุ่นใหม่ไม่นิยมสูบบุหรี่   เพราะเข้าใจดีว่าบุหรี่เป็นพิษต่อร่างกาย    และคนที่อยู่ใกล้คนสูบบุหรี่ก็ได้รับพิษจากควันบุหรี่ด้วย   คนรุ่นใหม่นิยมเล่นกีฬาหรือดนตรี  และใช้การเล่นกีฬาการเล่นดนตรีเป็นกิจกรรมเชื่อมความสัมพันธ์ทางสังคมได้อย่างดียิ่ง

          อธิบายศัพท์
          เอทิลแอลกอฮอล์  หมายถึง  แอลกอฮอล์ชนิดหนึ่ง  เป็นของเหลวใส  ไม่มีสีเสพเข้าร่างกายแล้วจะทำให้เมา  ทำลายสมองและประสาท  คำนี้มาจากคำภาษาอังกฤษว่า ethyl  alcohol

         มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์  หมายถึง  หน่วยวัดปริมาณแอลกอฮอล์ในร่างกายวัดได้จากลมที่ผู้ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เป่าใส่เครื่องวัด  หรือเจาะเลือดหาปริมาณแอลกอฮอล์ในร่างกาย
         
          โรคพิษสุราเรื้อรัง  หมายถึง  โรคที่เกิดจากการดื่มสุรามากเป็นเวลานานจนมีอาการสมองและประสาทเสื่อม  มือสั้น  เดินเซ  สติปัญญาเสื่อม

         สารเสพติด  หมายถึง  สารเคมีที่มีฤทธิ์ทำให้เมื่อเสพเข้าสู้ร่างกายแล้ว เลิกไม่ได้  ต้องเสียอีก  และต้องการเสพมากขึ้นเรื่อยๆ  สารเสพติดพบในสุรา   บุหรี่และในยาบางชนิด  สารเสพติดเกือบทั้งหมดเป็นพิษต่อร่างกาย

ศัพท์วิชาการ
         ศัพท์วิชาการ   หมายถึง   คำศัพท์ที่ใช้กล่าวถึงหรือใช้อธิบายเรื่องราวที่เป็นความรู้ทางวิชาการแขนงต่างๆ มักเป็นคำที่ไม่ใช้กันโดยทั่วไป   เช่น  ศัพท์วิยาศาสตร์  ศัพท์ทางธุรกิจสาขาต่างๆ  ศัพท์กฎหมาย ฯลฯ  ศัพท์วิชาการเป็นคำที่ผู้ศึกษาวิชาการนั้นๆ เข้าใจร่วมกันอย่างดี   ส่วนผู้ที่ไม่ได้ศึกษาอาจไม่เข้าใจ    ศัพท์ ศัพท์วิชาการส่วนมากเป็นคำที่รับมาจากภาษาต่างประเทศ   และนักวิชาการสาขานั้นๆ  แปลหรือสร้างคำขึ้นเป็นศัพท์บัญญติและกำหนดให้มีความหมายตรงกับคำภาษาต่างประเทศเหล่านั้น

        ตัวอย่างศัพท์วิชาการในสาขาต่างๆ
        ศัพท์สาขาวิทยาศาสตร์ 
              คลอโรฟีลล์   การสังเคราะห์แสง  ปรากฏการณ์เรือนกระจก   การกำทอนเซลล์  พล้าสมา  ฯลฯ  
        คณิตศาสตร์
              เอกนาม   พหุนาม   ทฤษฎีบท   เซ็ตว่าง  จำนวนอตรรกยะ  รากที่สอง   ไซน์โคโซน์   คอร์ด  ฯลฯ
        ศัพท์สาขาเศรษฐศาสตร์
              อุปสงค์   หุ้นบุริมสิทธิ์   ธุรกรรม   ไตรมาส   เงินเฟ้อ   ดุลบัญชีเดินสดพัด  จีดีพี  ฯลฯ
        ศัพท์สาขากฎหมาย   
               คดีดำ   คดีถึงที่สุด  กระทงความ  ทำให้เสียทรัพย์    อาญาแผ่นดิน    กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง   ให้การภาคเสธ  ฯลฯ

     ศัพท์บัญญัติ
             คำว่า   ศัพท์ศัพท์บัญญัติบัญญัติ   คือ คำที่คิดขึ้นเพื่อใช้แทนคำภาษาต่างประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งคำศัพท์ทางวิชาการภาษาอังกฤษซึ่งรับมาใช้ในภาษาไทยพร้อมกับการรับวิทยาการและความเจริญด้านต่างๆ   ปัจจุบันการรับวิทยาการจากโลกทางตะวันตกมีอยู่ทุกสาขา  ทำให้ภาษาไทยรับคำภาษาอังกฤษเข้ามามากความพยายามที่จะรักษาภาษาไทยซึ่งเป็นภาษาของชาติมิให้แปรเปลี่ยนไปในทางที่เสื่อมเร็วเกินไป   ทำให้ผู้มีความรู้และปราชญ์ทางภาษาช่วยกันคิดคำภาษาไทยหรือนำคำภาษาบาลีสันสกฤตซึ่งรู้จักกันดีอยู่แล้วมา
สร้างเป็นคำศัพท์บัญญัติใช้แทนคำภาษาอังกฤษนั้น  คำศัพท์ในวิชาการสาขาต่างๆ   ส่วนมากจึงเป็นศัพท์บัญญัติที่นักวิชาการนั้น ๆ  คิดขึ้น  โดยมีคณะกรรมการของราชบัณฑิตยสถานรับรอง   อย่างไรก็ตาม  การคิดคำศัพท์เพื่อให้ได้คำที่เหมาะ    มีความหมายและเสียงตรงกับคำศัพท์ภาษาอังกฤษที่เป็นต้นคำไม่ใช่สิ่งที่จะทำได้ง่ายๆ   บางกรณีอาจใช้คำไทยมาปรับใช้ให้ตรงกันได้  เช่น
  กรดน้ำส้ม         เป็นศัพท์ที่บัญญัติขึ้นเพื่อใช้แทนคำภาษาอังกฤษว่า          acetic  acid      
  ก๊าซไข่เน่า                                                 "                                                 hydrogen   sulfide
  ฝนกรด                                                       "                                                 acid  rain
                                                                 ฯลฯ
บางกรณีต้องนำคำภาษาบาลีสกสกฤตมาใช้   เช่น
  พหูพจน์           เป็นศัพท์ที่บัญญัติขึ้นเพื่อใช้แทนคำภาษาอังกฤษว่า           plural
  สิทธ์                                                           "                                               right
  อวกาศ                                                       "                                               space
                                                                  ฯลฯ
หรือนำคำของภาษาบาลีสันสกฤตมาสร้างตามกฎการสร้างคำแบบสมาส  เช่น 
กัมมันตรังสี       เป็นศัพท์ที่บัญญัติขึ้นเพื่อใช้แทนคำภาษาอังกฤษว่า      radioactive
บรรยากาศ                                                  "                                            atmosphere
ธรณีวิทยา                                                   "                                            geology
                                                                ฯลฯ
ส่วนคำศัพท์ที่ไม่อาจบัญญัติให้ตรงตามความหมายได้  ก็จำเป็นต้องใช้คำภาษาอังกฤษนั้นเป็นคำยืม  เช่น
แคลคูลัส           เป็นศัพท์ที่บัญญัติขึ้นเพื่อใช้แทนคำภาษาอังกฤษว่า         calculus
แอลกอฮอล์                                                "                                               alcohol
โครโมโซม                                                 "                                               chromosome
                                                               ฯลฯ      
คำทับศัพท์
          การทับศัพท์     เป็นวิธีการถ่ายรูปคำภาษาอังกฤษมาเขียนด้วยตัวอักษรไทย   โดยเทียบตัวอักษรตัวต่อตัว     ทั้งนี้เพื่อให้สามารถแปรรูปคำทับศัพท์กลับบไปสู่คำภาษาอังกฤษได้     การทับศัพท์เป็นวิธีการที่ศาสตราจารย์นายแพทย์อวย     เกตุสิงห์คิดขึ้นใช้ในการเขียนบทความทางการแพทย์ที่ตีพิมพ์ในสารศิริราช     เมื่อ     ๕๐     กว่าปีมาแล้ว     ศาสตราจารย์นายแพทย์อวย   เกตุสิงห์     เป็นบรรนาธิการวารสารการแพทย์ฉบับนั้นและได้พบว่าผู้เขียนบทความและรายงานผลการวิจัยทางการแพทย์     ส่วนมากเขียนบทความภาษาไทยโดยใช้คำภาษาอังกฤษที่เขียนด้วยตัวอักษโรมันแทรกอยู่เป็นจำนวนมาก     เพราะแพทย์ยังไม่สามารถแปลหรือบัญญัติคำภาษาไทยใช้เพื่อแทนคำภาษาอังกฤษนั้น ๆ ได้
           คำทับศัพท์ไม่ได้แสดงการออกเสียงคำในภาษาอังกฤษ     ทั้งไม่ได้แสดงว่าเป็นคำในภาษาไทย     คำทับศัพท์เป็นเพียงการเขียนคำภาษารอังกฤษด้วยตัวอักษรไทยพอเป็นเค้าให้ทราบว่า     คำนั้น ๆ     ภาษาอังกฤษหรือภาษาต่างประเทศอื่นคือคำอะไร     คำใดมีศัพท์บัญญัติใช้แล้วก็ไม่ต้องใช้คำทับศัพท์ต่อไป     เช่น     คำทับศัพท์บางคำเมื่อมีใช้มาก ๆ ก็จะมีผู้คิดศัพท์บัญญัติขึ้นใช้แทนทำให้ไม่ต้องใช้คำทับศัพท์อีกต่อไป      เช่นคำว่า    polynomial,    allotropic,     bond     เดิมเคยใช้คำทับศัพท์ว่า        
 โพลิโมเมียล,    แอลโลโทรปิก,   และบอนด์   แต่ปัจจุบันนิยมใช้ศัพท์บัญญัติว่า   พหุนาม,   อัญรูป  และพันธบัตร   ตามลำดับ  คำที่รับมาจากภาษาอังกฤษคำใดไม่สามารถคิดศัพท์บัญญัติขึ้นใช้แทนได้   ก็ต้องรับเป็นคำยืม   จึงต้องเขียนและออกเสียงอย่างภาษาไทย  เช่น  คอมพิวเตอร์    ก๊าซ   น็อต   รักบี้   แท๊กซี่ เปอร์เซ็นต์   เต๊นท์   สตอเบอรีร์   ฯลฯ

คำภาษาปาก
            คำภาษาปาก   คือ  คำที่ไม่เป็นทางการ    ใช้พูดกับคนสนิทอย่างเป็นกันเองไม่ใช้ในภาษาเขียน   คำที่เป็นภาษาปากมีลักษณะสำคัญดังนี้
           ๑. เป็ญคำที่ตัดย่อมาจากคำเต็ม   เช่น 
               เหน็ต      เป็นภาษาปาก         ตัดย่อมาจากคำเต็มว่า     อินเตอร์เน็ต 
               บายดี   

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ปฏิทินอันใหม่