วันอาทิตย์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

รู้ตำนานสืบสานวัฒนธรรม


บทที่ 7
รู้ตำนานสืบสานวัฒนธรรม

ก็สมบัติมหาศาล จะมีประโยชน์

เมื่อจ้าของตายลง


เปิงซงกราน

     อดีตกาลนานมาแล้ว นับตั้งต้นภัทรกัป  ยังมีเศรษฐีผู้หนึ่งมั่งคั่งบริบรูณ์ด้วยทรัพย์สมบัติแก้วแหวนเงินทอง จะขาดอยู่ก็แต่ทายาทที่จะรับสืบทอดมรดกมหาศาลนี้เท่านั้น  เศรษฐีก็มิได้รู้สึกเดือดเนื้อร้อนใจแต่ประการใด  คิดเสียว่าสักวันหนึ่งก็คงจะสมปรารถนา
       
 จนกระทั่งวันหนึ่ง เกิดเหตุด้วยนักเลงสุราข้างคฤหาสน์เศรษฐี   นั้นเองคงจะเมาหนักกว่าปรกติ จึงล่วงล้ำเข้าไปถึงในเขตบ้านเท่านเศรษฐี   มีหนำซ้ำยังกล่าวถ้อยคำเป็นเชิงเยาะเย้ยดูหมิ่นเจ้าของบ้านเสียอีก้วย เศรษฐีอดรนทนไม่ได้จึงถามขึ้นว่า
         เจ้านี่ใครกัน อวดดียังไงจึงเข้ามาอาละวาดถึงในบ้านเราไม่รู้รึว่าเราเป็นคหบดีที่ผู้คนนับถือตากันทั้งเมือง  เจ้าล่วงล้ำเข้ามาในบ้านแล้ว ยังมากล่าววาจาจ้วงจาบหยาบช้าเอากับเราถึงเพียงนี้
         นักเลงดีตอบอย่างไม่พรั่นพึงว่า
          ''กะแค่มีสมบัติมากเท่านี้  เราไม่เห็นจะแปลก ท่านร่ำรวยเป็นเศรษฐี ก็ดีอยู่หรอก  แต่อีกหน่อยท่านก้ต้องตายแล้วท่านจะเอาสมบัติพวกนี้้ไปได้หรือเปล่าล่ะ ลูกเต้าที่มาสืบทอดมรดก ทำบุญทำทานไปให้ท่านก็ไม่มีสักคน  แล้วสมบัติของท่านนี่จะมีประโยชน์ เรานี่เสียอีก แม้จะจนแต่แต่เราก็มีลูกชายหน้าตาผิิวพรรณหมดจดงดงามถึง 2 คน  เราตายไปลูกเราก็จะดูแลข้าวของเงินทอง ที่เราทิ้งไว้ ทำบุญส่งไปให้เราได้ ท่านจะมามีดีกว่าเราที่ตรงไหนิ 
           เศรษฐีฟังแล้วถึงแก่อาการอ้ำอึ้งนึกเห็นคล้อยเห็นตามวาจาของนักเลงสุราฝีปากดี  ก็สมบัติมหาศาลนั้นจะมีประโยชน์อันใดเมื่อเจ้าของตายลง  คิดแล้วเศรษฐีก็ร้อนรุ่มกลุ้ลใจมาขึ้นมาทันที  ที่เคยไม่สนใจเรื่่ิองทายาทสืบตระกูล ก็ชักจะกระวนกระวายหนักถึงขั้นกินไม่ได้ นอนไม่หลับ ครุนคิดแต่จะหาทางมีลูกมารับมรดกตกทอดเมื่อตัวตาย
             เมื่อได้ลูกชายสมความปรารถนา  เศรษฐีก็ชื่นชมโสมนัสยิ่งนักถึงกับปลูปราสาท ๗ ชั้นให้ลูกชายเศรษฐีมีชื่อว่า  ธรรมบาลกุมารปราสาทนั้นก็อยู่ใกล้ๆ  ต้นไทรริมน้ำนั้นเอง คงด้วยเห็นว่าบุตรที่ได้มานี้เป็นเพราะพระไทรประทานให้
       เนื่องจากปราสาทของธรรมบาลกุมารอยู่ติดกับต้นไทร ธรรมบาลก็เลยพลอยได้ใกล้ชิดกับบรรดาฝูงนกที่มาเกาะมากินผลไทร จนถึงกับรู้ภาษานกในที่สุด และนอกจากภาษานกแล้วธรรมบาลก็ยังได้ร่ำเรียนไตรเพท หรือพระเวททั้งสามอันเป็นวิชาความรู้สูงในสมัยนั้นสำเร็จเสร็จสิ้นเมื่ออายุเพียง ๗ ขวบ  และกลายเป็นผู้มีความสามารถบอกฤกษ์ยาม และอธิบายข้อปัญหาขัดข้องแก่ชนทั้งหลายได้ด้วยปัญญาอันลึกซึ้งยิ่งนัก
         ในชมพูทวีปสมัยนั้น ผู้คนล้วนนับถือท้าวมหาพรหมและท้าวบิลพรหม ซึ่งเป็นผู้บอกมงคลแก่มนุษย์  เมื่อธรรมบาลมาตั้งตนเป็นอาจารย์บอกมงคลฤกษ์ยามอีกคนหนึ่ง  ท้าวกบิลพรหมใคร่จะทดลองปัญญาของธรรมปาลว่าจะแก่กล้าสักเพียงใด จึงตั้งปัญหา ๓ ข้อให้ธรรมบาลแก้ ถ้าแก้ได้ ท้าวจะตัดเศียรตนบูชาธรรมบาล แต่ถ้าแก้ไม่ได้ ตนก็ต้องตัดเศียรบูชาท้าวกบิลพรหมเช่นกัน   ปัญหามีว่า
                            เวลาเช้า                         สิริอยู่ที่ไหน
                            เวลากลางวัน                 สิริอยู่ที่ไหน
                           เวลาเย็น                         สิริอยู่ที่ไหน
            ธรรมบาลขอเวลา  ๗  วัน  แต่จนถึงวันสุดท้ายก็คิดไม่ออกโทมนัสกลัวว่ารุ้งขึ้นจะต้องตัดหัวบูชาท้าวกบิลพรหม  ธรรมบาลจึงไปนอนรำพึงรำพันใต้ต้นตาลคู่  ขณะที่นอนอยู่  ก็ได้ยินเสียงนกอินทรีสองผัวเมียคุยกันว่า รุ้งขึ้นจะไปหาอาหารที่ไหน นกตัวผู้บอกว่า  ไม่ต้องกังวล เรื่องหาอาหาร  พรุ่งนี้จะต้องได้กินเนื้อธรรมบาลแน่นอน เมื่อแก้ปัญหาไม่ได้ก็ต้องถูกตัดหัว  นกตัวเมียจึงถามว่าปัญหานั้นว่าอะไร นกตัวผู้ก็บอกให้ แถมเฉลยอีกด้วย  ธรรมบาลเลยพลอยได้ยินข้อเฉลย
            เมื่อถึงกำหนด  ท้าวกบิลพรหมก็มาฟังข้อเฉลย ธรรมบาลกุมารจึงไขว่า
            
            เวลาเช้าสิริอยู่ที่หน้า  ชนทั้งหลายจึงเอาน้ำลูบหน้าปราศมลทิน  เวลา

กลางวันสิริอยู่ที่อก ชนทั้งหลายจึงเอาน้ำประพรมอก เวลาเย็นสิริอยู่ที่เท้า ชน


ทั้งหลายจึงเอาน้ำล้างเท้าก่อนนอน

            
            ธรรมบาลตอบถูก ท้าวกบิลพรหมต้องตัดหัวตามสัญญา ท้าวจึงเรียก

ธิดาท้ังเจ็ดพร้อมหน้ากันเเล้วสั่งว่า

            
            พ่อต้องถูกตัดหัวตามสัญญา เเต่หัวของพ่อนั้น  ถ้าวางไว้บนพื้นพิภพ 

จะเกิดไฟไหม้ทั้งแผ่นดิน  ถ้าโยนขึ้นในอากาศ ฝนฟ้าจะแล้ง  ถ้าทิ้งใน


มหาสมุทร  น้ำก็จะแห้ง เจ้าจงเอาพานมาคอยรับหัวพ่อนี้เถิด


            เมื่อสั่งเสียเเล้ว ท้าวก็ตัดหัวตนออกบูชาธรรมบาล ธิดาองค์โตนามว่า 


ทุงษะ จึงเอาพานมารองรับหัวพ่อไว้แห่แหนประทักษิณรอบเขาพระสุเมร เเล้ว


จึงนำไปประดิษฐานไว้ในพรหมโลก  แต่นั้นมาเมื่อครบรอบวันสงกรานต์  ธิดา


ทั้งเจ็ด จะผลัดเปลี่ยนเวียนกันนำหัวของเท้ากบิลพรหมแห่รอบเขาพระสุเมรุปี


ละคร้ังสืบมา


     
           ตำนาน
          
    ตำนานหมายถึงเรื่องที่เล่าต่อๆกันมา เป็นเรื่องเกี่ยวกับบุคคล ปูชนียวัตถุหรือสถานที่สำคัญ ที่มาของประเพณีหรือพิธีกรรม
          ลักษณะตำนานเป็นเรื่องเหนือจริงหรือสัมพันธ์กับความเป็นจริง แสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาบรรพชนและความเป็นมาของชนชาติ เช่น
          
         ความเชื่อคตินิยมเรื่องสิริ
          
     สิริหมายถึง มงคล สิ่งที่จะนำความโชคดี ความเจริญและความสุขมาให้ซ้อนกับคำว่ามงคล  ยกตัวอย่างความเชื่อเรื่องสิริในเวลาเช้าจะอยู่ที่ใบหน้า เวลากลางวันจะอยู่ที่อกและเวลาเย็นจะอยู่ที่เท้า

        ความเชื่อเรื่องมีบุตรชายสืบตระกูล
   
     ความเชื่อของชาวมอญ รับมาจากวัฒนธรรมพราหมณ์ ฮินดูว่า ถ้ามีบุตรชายจะทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ตนและวิญญาณบรรพบุรุษได้ ในสังคมโบราณเป็นสังคมเกษตรก็ต้องการแรงงานผู้ชายมาทำงานรักษาผืนนาและทรัพย์สมบัติอื่นให้ลูกหลานในภายหน้า
           
      ตำนานวันสงกรานต์วันขึ้นปีใหม่ไทย

          ในรอบ ๑ปีจะมี ๒ วัน ซึ่งจะสังเกตความเปลี่ยนแปลงของฤดูได้ดีที่สุดคือ วันที่ ๒๑ มี.ค.เป็นช่วงเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อนตามลำดับ และวันที่ ๒๒ ก.ย.เป็นช่วงเข้าสู่ฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาวตามลำดับ จึงได้กำหนดให้ปลายเดือนมีนาคมและต้นเดือนเมษายนเป็นวันเริ่มต้นปีใหม่ ซึ่งตรงกับปฏิทินไทยตามคติมอญ
          ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ให้ถือเอาวันที่ ๑ เมษายนเป็นวันขึ้นปีใหม่ จนในสมัยจอมพลป.พิบูลสงครามได้ถือเอาวันที่ ๑ มกราคมเป็นวันเริ่มต้นปีใหม่ตามตะวันตก
          คำว่า สงกรานต์มาจากภาษาสันสกฤต แปลว่าก้าวไปพร้อมกันคือวันที่พระอาทิตย์ย้ายจากราศีหนึ่งไปสู่ราศีหนึ่ง
          ไทยถือเอาวันที่ ๑๒ ก่อนวันสงกรานต์เป็นเทศกาลสิ้นปี วันที่ ๑๓ เป็นวันมหาสงกรานต์หรือวันปีใหม่ วันที่ ๑๔ เป็นวันเนาเป็นวันที่พระอาทิตย์ประทับในราศีเมษ  วันที่ ๑๕ เป็นวันเถลิงศกขึ้นศักราชใหม่ ศักราชที่เปลี่ยนในช่วงสงกรานต์เราเรียกว่าจุลศักราช
          เมื่อถึงเทศกาลสงกรานต์จะมีประเพณีก่อพระเจดีย์ทราย เพราะเชื่อว่าทุกย่างก้าวที่เราออกจากวัดมักจะนำทรายติดเท้าออกนอกวันจึงต้องขนทรายเข้ามาในวัดอีกครั้งหนึ่ง
ที่มา...http://www.nirat-m3.blogspot.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ปฏิทินอันใหม่